ประเพณีแห่สลุงหลวง

ประวัติความเป็นมาแห่สลุงหลวง
ในเทศกาลสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ชาวลำปางจะจัดขบวนแห่ที่เรียกว่า “ประเพณีแห่สลุงหลวงจังหวัดลำปาง”( สลุงหลวง แปลอีกความหมายว่าขันเงินใบใหญ่ ) พิธีการคือนำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย

การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณีไทย คือใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูกต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนธ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนานำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป

ประเพณีแห่สลุงหลวงพิธีกรรม
ขบวนแห่สลุงเริ่มจากการแห่ตุง(ธง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยสีสันในขบวนแห่ตุงแต่ละผืน มีความหมายในตัว มีทั้งตุงสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีส้ม สีเหลือง เขียวสลับลายชมพูและฟ้า ผู้แห่ในขบวนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชายฉกรรจ์ โพกผ้าขาวไว้บนศีรษะ เปลือยกายท่อนบนส่วนท่านล่างบางคนนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดงบ้าน สีดำบ้าง ในขณะทีบางคนนุ่งกางเกงขายาวสีขาว มีผู้ร่วมขบวนแห่นับร้อยคนแลดูตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น

แห่สลุงหลวงลำปาง